5 ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจในยุคดิจิทัล


ปัจจุบันมีการพูดถึงการนำเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาใช้กับทุกธุรกิจไม่ว่าจะเป็น Customer Engagement, Customer Experience, Transform Product Service หรือการสร้าง Empower ให้กับพนักงาน ทั้งหมดนี้จะทำงานผ่านเทคโนโลยี ซึ่งธุรกิจจะต้องมองหาเทคโนโลยีที่จะมาช่วยให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในอนาคต แต่อาจไม่เพียงพอ ธุรกิจจึงควรต้องร่วมมือกับพันธมิตรที่มีศักยภาพ เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมี 5 ปัจจัยในการทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัล

1. Future of Work ซึ่งในอนาคตจะสามารถทำงานได้จากทุกที่ทั่วทุกมุมโลก หรือแม้แต่ขนาดของออฟฟิศที่จะเล็กลงเฉพาะสำหรับการพบปะ การประชุม รวมไปถึงการหาเครื่องมือที่จะช่วยให้สมดุลกันระหว่างเวลาทำงาน (Productivity) เวลาส่วนตัว (Well-Being) และเวลาเรียนรู้ (Learning) ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรในองค์กรมีความสุขกับการทำงานมากขึ้น 

2. Journey to Cloud ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญ ซึ่งสิ่งที่ธุรกิจจะได้จากเทคโนโลยี Cloud คือเรื่องของความเร็ว (Speed) ความคล่องตัว (Agility) ความคุ้มค่า (Cost Economy) แต่ใช่ว่าธุรกิจที่อยากใช้ Cloud แล้วจะใช้ได้ทันที เนื่องจากการเลือกใช้ Cloud จำเป็นต้องพิจารณาในหลายด้าน ทั้งในด้านของความปลอดภัย (Security) การบริหารจัดการข้อมูล (Data Management) การเลือกใช้บริการ Cloud เป็นเหมือนกับการหาบริษัท Outsource ที่เข้ามาช่วยดูแล การเลือกบริษัท Cloud จึงจำเป็นที่ต้องเลือกบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ ที่ต้องมั่นใจว่าเมื่อเกิดปัญหาบริษัทนั้นต้องพร้อมแก้ไขปัญหาให้ทุกเวลา 

3. Data & AI เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้หลายองค์กรประสบความสำเร็จ แต่ส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาที่ว่าจะนำ Data มาใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Customer Engagement, Business Model Transformation รวมไปถึงการเชื่อมต่อกับบุคลากรในองค์กร หรือเรื่องของการควบคุมค่าใช้จ่ายที่จะช่วยให้องค์กรสามารถเดินหน้าต่อในสถานการณ์ที่ไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจ 

4. Security & Privacy อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่า ความเชื่อมั่นถือเป็นเรื่องสำคัญของการก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัล ซึ่งนอกจากที่องค์กรจะต้องหาบริษัทที่เชื่อมั่นเข้ามาร่วมมือ ลูกค้าเองก็ต้องการบริการจากบริษัทที่สามารถให้ความเชื่อมั่น โดยองค์กรอาจใช้แนวคิด Zero Trust จากในอดีตที่เคยเชื่อว่าอุปกรณ์ภายในออฟฟิศมีความปลอดภัยมากกว่าอุปกรณ์ภายนอกออฟฟิศ 

ซึ่งในปัจจุบันอุปกรณ์ภายในออฟฟิศนี่เองคือช่องทางสำคัญที่ก่อให้เกิดการเจาะข้อมูล ทั้งจากทางไวรัสคอมพิวเตอร์และแฮคเกอร์ ซึ่งแนวคิด Zero Trust จะป้องกันรวมไปถึงอุปกรณ์ภายในออฟฟิศ ซึ่งการใช้ Password อาจกลายเป็นเรื่องเก่าที่สามารถถูกเจาะข้อมูลได้ ปัจจุบันอาจต้องยืนยันตัวตนผ่าน Biometric หลายๆ รูปแบบ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถแยกแยะตัวตนของแต่ละบุคคลได้อย่างชัดเจน 

5. ทักษะ (Skill) ถ้ามองว่าเป็นปัญหาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีทักษะจำกัดหรือเป็นทักษะทั่วไปที่ไม่มีความโดดเด่นเฉพาะด้าน แต่ถ้ามองเป็นโอกาสเทคโนโลยีใหม่ๆ จะก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะ ทั้งในด้านของการ Upskill และ Reskill ซึ่งทักษะในหลายด้านสามารถเรียนรู้ได้ง่ายๆ ทั้งบนโลกโซเชียล โดยไม่จำเป็นต้องเป็นคน IT อย่าง LinkedIn แทนที่จะรอให้มีการพัฒนาทักษะ องค์กรอาจจะต้องสนับสนุนให้มีการพัฒนาทักษะในหลายๆ ด้าน 

ข้อมูลโดย Microsoft 
จากงาน AIS Business DIGITAL FUTURE 2021